ข้าวสังข์หยดมีเยื่อหุ้มเมล็ดสีขาวปนสีแดงจางๆจนถึงสีแดงเข้ม ข้าวกล้องมีสีแดง เพราะมีแอนโทไซยานินอยู่ในเยื่อชั้นนอกของข้าวกล้อง ข้าวซ้อมมือเมื่อขัดสีบางเมล็ดมีสีขาวใส แต่ส่วนใหญ่ลักษณะขุ่นขาว เมื่อหุงสุกจะนุ่มมากและยังคงนุ่มอยู่ เมื่อเย็นลงจะมีกลิ่นที่เป็นเอกลักษณ์
คุณค่าทางโภชนาการ
- มีวิตามินบีสูง วิตามินบี1 ช่วยป้องกันโรคเหน็บชาและโรคอัมพฤกได้ วิตามินบี2 ช่วยในการป้องกันโรคปากนกกระจอก
- มีปริมาณสังกะสีสูงที่สุด และให้พลังงานต่ำที่สุด
- สารสีแดงเป็นรงควัตถุประเภทฟลาโวนอยด์ชนิดมีสารแอนโทไซยานินอยู่ในเยื่อชั้นนอกของข้าวมีคุณสมบัติในการต้านอนุมูลอิสระได้ดี ชะลอความชรา และลดความเสี่ยงการเป็นโรคต่างๆ เช่น ป้องกันโรคหัวใจ และโรคระบบภูมิคุ้มกันทำงานผิดปกติ
- สารต้านอนุมูลอิสระ พวก oryzanol เป็นกลุ่มวิตามินอี ในกลุ่มโทโคฟีรอล กลุ่มโทโคไตรอีนอลและสารแกมมา-โอริซานอล(Gamma Oryzanol) เป็นสารที่พบในเยื่อหุ้มเมล็ดข้าวเท่านั้น ช่วยชะลอความชรา
- สาร Gamma Amino Butyric Acid (GABA) ช่วยลดอัตราเสี่ยงของการเป็นมะเร็ง
- มีฤทธิ์ในการลดระดับคอเลสเตอรอลตัวที่เลว LDL และเพิ่มปริมาณคอเลสเตอรอลตัวที่ดี HDL ในเลือดและไตรกลีเซอไรด์ ทำให้ลดการตีบตันของหลอดเลือด เพิ่มการไหลเวียนของโลหิต
- มีสารไนอะซินสูง ช่วยในเรื่องของระบบประสาทและผิวหนัง
- มีสารแคลเซียมและฟอสฟอรัส ช่วยในการป้องกันโรคกระดูกเสื่อม
- มีฤทธิ์ในการลดความเครียด
- รักษาอาการผิดปกติของสตรีวัยทอง
กระบวนการผลิตข้าวสังข์หยด
- พื้นที่การผลิตอยู่ในจังหวัดพัทลุง เกษตรกรต้องปฏิบัติตามคู่มือสำหรับการผลิตข้าวสังข์หยดเมืองพัทลุง โดยผลิตข้าวในระบบ GAP และ/หรือระบบอินทรีย์
- การแปรรูป ผลผลิตข้าวเปลือกสีแปรสภาพเป็นข้าวกล้อง และข้าวสาร โดยโรงสีข้าวในจังหวัดพัทลุง
- การบรรจุหีบห่อ รายละเอียดบนฉลากระบุชื่อ “ข้าวสังข์หยดเมืองพัทลุง” ให้ระบุน้ำหนักและวันที่บรรจุ
ความสัมพันธุ์ระหว่างสิ้นค้ากับแหล่งภูมิศาสตร์
เมืองพัทลุงนิยมปลูกข้าวและบริโภคข้าวหนักมากกว่าข้าวเบา คนพัทลุงส่วนมากไม่รับประทานข้าวเบา แต่จะเก็บข้าวเบาไว้ในโอกาสพิเศษ ข้าวสังข์หยดเป็นข้าวเจ้าพันธุ์พื้นเมืองพันธุ์เบา ปลูกกันมานานกว่า 100 ปี ผลผลิตจะเก็บไว้เพื่อเป็นของกำนัลแก่ผู้ใหญ่ที่นับถือ ใช้หุงต้มเป็นอาหารเพื่อเลี้ยงแขกพิเศษในงานบุญ แขกบ้านแขกเมืองหรือเจ้านายปกครองบ้านเมิอง มีประเพณีถิอปฏิบัติโดยการนับถือแม่โพสพ ซึ่งถือเป็นเทพีประจำข้าวต้องทำพิธี “ขวัญแม่โพสพ” หรือทำขวัญข้าว รวบข้าว การทำขวัญแม่โพสพจะมีบทสวดที่มีรายชื่อข้าวพันธุ์ต่างๆ ซึ่งข้าวพันธุ์สังข์หยดก็มีรายชื่ออยู่ในบทสวดเช่นกัน โดยพิธีการทำขวัญแม่โพสพทำอีกครั้งเมื่อเก็บเกี่ยวข้าวเข้ายุ้งฉางอีกครั้ง หรือไปทำรวมกันที่วัดเรียกว่า “ขวัญข้าวใหม่”