Last updated: 15 ก.ค. 2562 | 4747 จำนวนผู้เข้าชม |
ประวัติความเป็นมา
ข้าวไรซ์เบอรี่ (ภาษาอังกฤษ: Rice Berry) เป็นผลงานการปรับปรุงสายพันธุ์ของ รศ.ดร.อภิชาติ และทีมนักวิจัยจาก ศูนย์วิจัยพันธุ์ข้าว มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ และความร่วมมือจากคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติ (วช.) โดยเป็นการผสมข้ามสายพันธุ์ ระหว่าง ข้าวเจ้าหอมนิล ซึ่งเป็นสายพันธุ์พ่อ + ข้าวขาวดอกมะลิ 105 ซึ่งเป็นสายพันธุ์แม่ ทำให้ได้ลักษณะที่ดีและคุณประโยชน์เด่นๆ ออกมา ซึ่งพันธุ์ข้าวนี้ได้รับการจดทะเบียนเป็นพันธุ์พืชใหม่ ห้ามมีการนำไปขยายพันธุ์ในเชิงการค้าต่อโดยไม่ได้รับอนุญาตจาก วช. และมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
ลักษณะทั่วไป
ข้าวไรซ์เบอรี่มีลักษณะเรียวยาว ผิวมันวาว เป็นข้าวจ้าวสีม่วงเข้มคล้ายกับลูกเบอร์รี่ที่มีสีม่วงเข้มเมื่อสุก หากเป็นข้าวกล้องจะมีกลิ่นหอมที่เป็นเอกลักษณ์เฉพาะตัว อีกทั้งยังมีรสชาติหอมมัน เนื้อสัมผัสเหนียวนุ่ม เนื่องจากผ่านการขัดสีเพียงแค่บางส่วนเท่านั้น จึงยังทำให้คงคุณค่าทางโภชนาการไว้ได้อย่างครบถ้วน ข้าวสายพันธุ์พิเศษสีม่วงนี้สามารถปลูกได้ตลอดทั้งปี มีอายุเก็บเกี่ยว 130 วัน ให้ผลผลิตปานกลาง มีความสามารถต้านทานต่อโรคไหม้ แต่ไม่ต้านทานโรคหลาว จึงแนะนำให้เปลี่ยนเมล็ดพันธุ์ทุกรอบของการปลูก
คุณค่าทางโภชนาการที่สำคัญ
ปริมาณอะไมโลส (amylose) 15.60%
อุณหภูมิแป้งสุก | < 70 องศาเซลเซียส |
เหล็ก | 13-18 มิลลิกรัมต่อกิโลกรัม |
สังกะสี | 31.9 มิลลิกรัมต่อกิโลกรัม |
โอเมก้า 3 | 25.51 มิลลิกรัมต่อ 100 กรัม |
วิตามินอี | 678 ไมโครกรัมต่อ 100 กรัม |
โฟเลต | 48.1 ไมโครกรัมต่อ 100 กรัม |
เบต้า-แคโรทีน | 63 ไมโครกรัมต่อ 100 กรัม |
โพลีฟีนอล | 113.5 มิลลิกรัมต่อ 100 กรัม |
แทนนิน | 89.33 มิลลิกรัมต่อ 100 กรัม |
แกมมาโอไรซานอล | 462 ไมโครกรัมต่อ 100 กรัม |
ค่าดัชนีน้ำตาล | 62 |
ที่มา : ศูนย์วิทยาศาสตร์ข้าวและหน่วยปฏิบัติการค้นหาและใช้ประโยน์ยีนข้าว
ความน่าสนใจ
ข้าวไรซ์เบอรี่ อุดมไปด้วยคุณค่าทางอาหารสูง โดยคุณประโยชน์ที่เด่นชัดที่สุดจะพบได้ในน้ำมันรำข้าว และรำข้าว มีคุณสมบัติต่อต้านอนุมูลอิสระได้ดี อุดมไปด้วยโฟเลจในปริมาณสูง นอกจากนั้นยังอุดมไปด้วยสารอาหารอื่นๆ ที่มีประโยชน์ต่อร่างกายมากมายหลายชนิด ได้แก่ เบต้าแคโรทีน, แกมมาโอไรซานอล, วิตามินอี, วิตามินบี 1, ลูทีน, แทนนิน, สังกะสี, โอเมก้า 3, ธาตุเหล็ก, โพลีฟีนอล และเส้นใย เป็นต้น ซึ่งสารอาหารเหล่านี้มีส่วนช่วยในการ
เป็นการรับประทานเพียง 1 ที่ได้ถึง 2 เป็นทั้งข้าวที่เป็นอาหารหลักของคนไทย ทั้งยังเป็นสมุนไพรไปด้วยในตัว ครบทุกคุณประโยชน์แถมยังมีรสอร่อยถูกปากอีกด้วย
ผู้ที่สามารถทานข้าวไรซ์เบอรี่ได้
ข้าวไรซ์เบอรี่ เหมาะกับผู้คนทุกเพศทุกวัย โดยเฉพาะผู้ที่รักสุขภาพ เพราะถือได้ว่าเป็นข้าวที่มีสารอาหารและคุณประโยชน์สูง โดยจำแนกออกเป็นกลุ่มต่างๆ ได้ดังนี้
นอกจากนั้น ข้าวไรซ์เบอรี่ยังมีคุณประโยชน์อีกมากมายหากรับประทานแทนข้าวขาวเป็นประจำ โดยเฉพาะข้าวกล้องไรซ์เบอร์รี่ที่มีเส้นใย ช่วยลดระดับไขมันและคอเรสเตอรอล ป้องกันโรคหัวใจ ช่วยควบคุมน้ำหนัก รักษาระบบขับถ่ายให้เป็นปกติ เนื่องจากสารอาหารต่างๆ ที่มีอยู่ในข้าวชนิดนี้เสมือนเป็นยารักษาชั้นเลิศ ดังนั้น เราควรเลือกรับประทานอาหารเป็นยา ดีกว่าการรับประทานยาเป็นอาหาร
รงค์วัตถุสีม่วงของข้าวไรซ์เบอรี่
สีม่วงเข้มที่พบในข้าวไรซ์เบอรี่ เกิดขึ้นตามธรรมชาติเนื่องจากมีส่วนประกอบเป็น "สารแอนโทไซยานิน (Anthocyanin)" ซึ่งก็คือรงค์วัตถุหรือสารสี สามารถละลายน้ำได้ดี และจัดอยู่ในกลุ่มของฟลาโวนอยด์ (flavonoid) หรือสาร "ต้านอนุมูลอิสระ" ที่มีประสิทธิภาพสูง
ค่าการต้านอนุมูลอิสระในข้าวไรซ์เบอรี่
สำหรับประสิทธิภาพในการต้านอนุมูลอิสระที่พบในข้าวไรซ์เบอรี่ ซึ่งมีสีม่วงเข้มมากตามธรรมชาติ อยู่ที่ 229 - 304.7 umole/g การศึกษานี้ทำด้วยวิธี ORAC (Oxygen Radical Absorbance Capacity) เรียกได้ว่าเมื่อนำมาเปรียบเทียบกับผลไม้หรือเครื่องดื่มชาเขียวที่ได้รับการยกย่องในด้านสรรพคุณที่ช่วยต้านสารอนุมูลอิสระแล้ว ในข้าวชนิดนี้มีคุณค่าในการป้องกันสูงมากเกือบ 100 เท่า
ประสิทธิภาพสารต้านอนุมูลอิสระหลังการหุงต้ม
กระบวนการหุงข้าวหรือต้มข้าวไรซ์เบอรี่ด้วยหม้อหุงข้าวไฟฟ้า ปริมาณของสารต้านอนุมูลอิสระลดลงประมาณ 50 เปอร์เซ็นต์เมื่อเทียบกับในข้าวดิบ แต่หากเทียบกับผักผลไม้บางชนิด น้ำชาเขียวในท้องตลาด หรือน้ำผลไม้แล้ว เมล็ดข้าวสีม่วงชนิดนี้ก็ยังให้ผลในการป้องกันสารอนุมูลอิสระได้สูงกว่าอยู่ดี จึงถือว่าเป็นพันธุ์ข้าวที่มีประโยชน์ต่อสุขภาพ และเป็นแหล่งอาหารชั้นเลิศที่คุ้มค่าอย่างยิ่ง ในเมื่อสารต้านอนุมูลอิสระไม่ได้ถูกทำลายไปจนหมด เมื่อเรารับประทานข้าวไรซ์เบอรี่เข้าไป รวมกับสารต้านอนุมูลอิสระในร่างกายที่มีอยู่จากอาหารชนิดอื่นๆ ด้วยแล้ว จัดว่าเพียงพอที่จะช่วยลดความเสี่ยงต่อการเกิดโรคต่างๆ ได้อย่างมากมาย โดยเฉพาะโรคมะเร็งและโรคหัวใจ
ที่มาข้อมูล กองพัฒนาผลิตภัณฑ์ข้าว, ศูนย์วิทยาศาสตร์ข้าวและหน่วยปฏิบัติการค้นหาและใช้ประโยน์ยีนข้าว
11 ก.ค. 2562
11 ก.ค. 2562
11 ก.ค. 2562
11 ก.ค. 2562